เเรงยึดเหนี่ยวทางเคมี
ในชีวิตประจำวันทั่วๆไปจะพบว่าสารชนิดหนึ่งๆมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนและเมื่อต้องการทำให้แยกออกจากกันจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งตัวอย่างเช่น
1.
เมื่อให้ความร้อนแก่สารจนกระทั่งโมเลกุลของสารมีพลังงานสูงพอจะทำให้เกิด
การเปลี่ยนสถานะ น้ำแข็ง (ให้พลังงานความร้อน)
เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำ(ของเหลว) ให้พลังงานความร้อน เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
สารบางชนิดอาจแยกสลายออกเป็นสารหลายชนิดได้
2.
เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าโมเลกุลของสารบางชนิดจะสลายตัวให้ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
เช่นการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า
จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่ามีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เป็นองค์ประกอบของโมเลกุล
เราสามารถแบ่งแรงยึดเหนี่ยวออกเป็น 2
ประเภทดังนี้
1. แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล (พันธะเคมี)
อะตอม - อะตอม ได้แก่
อะตอม - อะตอม ได้แก่
พันธะโคเวเลนต์ (covelent bond)
พันธะไอออนิก (ionic bond)
พันธะโลหะ (metallic bond)
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
โมเลกุล
- โมเลกุล ได้แก่
แรงแวนเดอร์วาลส์ (vanderwaal force)
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (dipole-dipole
interation)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond)
พันธะเคมี
พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมกับอะตอมภายในโมเลกุล
เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่ทำให้เกิดโมเลกุลของสาร
ที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/b01.html
กฎออกเตด ( Octet rule )
จากการศึกษาเกี่ยวกับธาตุก๊าซเฉื่อย เช่น He
Ne Ar Kr พบว่าเป็นธาตุที่โมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว
คือในหนึ่งโมเลกุลของก๊าซเฉื่อยจะมีเพียง 1 อะตอม แสดงว่าเป็นธาตุที่เสถียรมาก
ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจที่จะค้นคว้าถึงเหตุผลที่ทำให้ธาตุเฉื่อยมีความเสถียร
และจากการศึกษาโครงสร้างอะตอมของธาตุเฉื่อยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนวงนอกสุดเหมือนกัน
คือมี 8 อิเล็กตรอน(ยกเว้น He มี 2 อิเล็กตรอน) เช่น
2He
= 2 10Ne = 2
, 8 18Ar = 2
, 8 , 8
36Kr = 2 , 8 , 18
, 8
ส่วนธาตุหมู่อื่นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด
ไม่ครบ 8 เช่น
1H = 1 6C = 2
, 4 7N = 2
, 5 8O = 2
, 6
ธาตุที่มีวาเลนต์อิเล็กตรอนไม่ครบ 8
ในธรรมชาติจะไม่สามารถอยู่เป็นอะตอมเดี่ยวๆได้ ซึ่งแสดงว่าไม่เสถียร
ต้องรวมกันเป็นโมเลกุลซึ่งอาจจะมี 2 อะตอมหรือมากกว่า
การที่อะตอมของธาตุต่างๆ
รวมตัวกันด้วยสัดส่วนที่ทำให้วาเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 นี้
นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งเป็นกฎขึ้นเรียกว่า กฎออกเตต
การรวมกันเพื่อทำให้อะตอม
มีวาเลนต์อิเล็กตรอนครบ 8 อาจมีลักษณะดังนี้
อะตอมใช้วาเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ๆ
จะเกิด "พันธะโคเวเลนต์ "
อะตอม ให้หรือรับอิเล็กตรอน จะเกิดเป็น "
พันธะไอออนิค "
อะตอมใช้วาเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันทั้งก้อน
จะเกิดเป็น " พันธะโลหะ "
(ความแข็งแรงของพันธะ พันธะโลหะ > พันธะไอออนิค
> พันธะโคเวเลนต์)
ที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/b01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น