วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สมบัติของธาตุตามหมู่ และคาบ

1. ขนาดอะตอม (รัศมีอะตอม)

ขนาดอะตอมบอกด้วยรัศมีอะตอม มีหน่วย pm โดยปกติอะตอมของธาตุมักอยู่ในรูปของโมเลกุล ทำให้การวัดรัศมีอะตอมต้องแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1) รัศมีโคเวเลนด์ หมายถึง ครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของโมเลกุลโคเวเลนต์


2) รัศมีโลหะ หมายถึง ครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของอะตอมโลหะที่ติดกัน


แนวโน้มขนาดอะตอมของธาตุ
 1.ธาตุหมูเดียวกัน ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้นจากบนลงล่าง เนื่องจากพลังงานที่เพิ่มขึ้น
 2.ธาตุคาบเดียวกัน ขนาดอะตอมจะเล็กลงจากซ้ายไปขวา เนื่องจาก จำนวนโปรตอนที่มากขึ้น


2.ขนาดไอออน (รัศมีไอออน)

ใช้พิจารณากับอะตอมของธาตุที่ไม่เป็นนกลางทางไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ขนาดไอออนบวกและไอออนลบ



เมื่อธาตุรวมตัวกับเป็นสารประกอบ อาจมีบางชนิดเสียอิเล็กตรอนไป กลายเป็นไอออนบวก เช่น ธาตุโลหะ และบางชนิดรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามา ทำให้กลายเป็นไอออนลบ เช่น ธาตุโลหะ การที่อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน ทำให้ขนาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งสรุปโดยทั่วไปได้ดังนี้

          ก. ไอออนบวก หรือ ไอออนของโลหะ จะมีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับอะตอมเดิม เนื่องจากโลหะเมื่อเสียอิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนบวก ระดับพลังงานลดลง ขนาดจึงเล็กลง

          เช่น     Na  281   มีรีศมีอะตอม   190  pm
                  Na+ 28       มีรัศมีไอออน    98   pm

          ข. ไอออนลบหรือไอออนของอโลหะ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอะตอมเดิม เนื่องจากอโลหะเมื่อรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาทำให้แรงดึงดูดระหว่าง อิเล็กตรอนกับนิวเคลียส ลดลง ขนาดจึงใหญ่ขึ้น
          เช่น     Cl    287  มีรัศมีอะตอม    99  pm
                  Cl-   288   มีรัศมีไอออน   181  pm

แนวโน้มขนาดไอออนในหมู่เดียวกันจะ ใหญ่ขึ้นจากบนลงล่าง
แนวโน้มขนาดไอออนในคาบเดียวกันจะแบ่งเป็น 2 กรณี
1)โลหะเล็กลงมาก เนื่องจากระดับพลังงานหายไป 1 ระดับ
2)อโลหะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากว่าระดับพลังงานเท่าเดิม

3.อิเล็กโททรเนกาติวิตี

อิเล็กโทรเนกาติวิตี หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนในพันธะเข้ามาหาตัวเอง
          จากภาพจะเห็นว่า อะตอมของ Cl มีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองได้ดีกว่า Na แสดงว่า Cl มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่า Na

แนวโน้มอิเล็กโทรเนกาติวิตีของธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุ
          - ธาตุในหมู่เดียวกัน ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีลดลงจากบนลงล่าง เช่น ธาตุในหมู่ IA อิเล็กโทรเนกาติวิตี Li > Na > K > Rb > Cs > Fr
          - ธาตุในคาบเดียวกัน ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา เช่น ธาตุในคาบที่ 2 อิเล็กโทรเนกาติวิตี Li < Be < B < C < N < O < F
          - จากภาพจะได้ว่า F มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด แสดงว่า F สามารถดึงดูดอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองได้ดีที่สุด ส่วนธาตุอื่น ๆ จะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่า


4.พลังงานไอออนไนเซชัน


พลังงานไอออไนเซชัน คือ พลังงานที่ใช้ในการดึงอิเล็กตรอน 1 อนุภาค ออกจากอะตอมในสถานะแก๊ส กลายเป็นไอออนบวก
  - ธาตุที่มีอิเล็กตรอน 1 ตัว คือ ธาตุไฮโดรเจน(H)
H(g)  H+(g) + e-               IE=1,318 kJ/mol
                  ธาตุไฮโดรเจนมีพลังงานไอออไนเซชันเท่ากับ 1,318 กิโลจูลต่อโมล แสดงว่าเราต้องให้พลังงานแก่ธาตุไฮโดรเจน 1,318
กิโลจูลต่อโมล จึงจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมา
  - ธาตุที่มีอิเล็กตรอนมากกว่า 1 ตัว เช่น ธาตุลิเทียม(Li)
                                        Li(g)   Li+(g) + e-               IE1 = 520 kJ/mol
                                        Li+(g)   Li2+(g) + e-            IE2 = 7,394 kJ/mol
                                        Li2+(g)   Li3+(g) + e-           IE3 = 11,815 kJ/mol

                   จากการสังเกตจากค่าพลังงานไอออไนเซชันจะพบว่า IE1 คือพลังงานที่ให้แก่อะตอมเพื่อดึงอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุด(เวเลนซ์อิเล็กตรอน) มีค่าน้อยที่สุด เพราะอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสหลุดออกได้ง่าย ไม่ต้องใช้พลังงานมากเพราะได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสน้อย แต่อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะถูกดึงดูดไว้เราต้องใช้พลังงานมาก เพื่อที่จะทำให้อิเล็กตรอนนั้นหลุดออกมา ดังนั้นค่า IE3 จึงมีค่ามากที่สุด

5.สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน คือ พลังงานที่อะตอมในสถานะแก๊สคายออกมาเมื่อได้รับอิเล็กตรอน
แนวโน้มสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุ



- ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นลบเพราะระบบ(อะตอม)คายพลังงานออกมาเมื่อรับอิเล็กตรอนเข้าไป ตามหลักเทอร์โมไดนามิกส์(thermodynamics)
- ถ้าเราพิจารณาค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนโดยไม่คำนึงถึงค่าที่เป็นลบ จะเห็นว่า
- ธาตุในหมู่เดียวกัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนลดลงจากบนลงล่าง เช่น ธาตุในหมู่ IA
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน Li > Na > K > Rb > Cs แสดงว่า Li รับอิเล็กตรอนเข้ามาในอะตอมได้ดีกว่า Cs
- ธาตุในคาบเดียวกัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา เช่น ธาตุในคาบที่ 2
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน Li < Be < B < C < N < O < F แสดงว่า F รับอิเล็กตรอนเข้ามาในอะตอมได้ดีกว่า Li

6.จุดเดือดและจุดหลอมเหลว

จุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุ ขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรืออะตอม ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรืออะตอมมาก จะมีจุดหลอมเหลวสูง แต่ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวจะต่ำ

วิดีโอ+แนวข้อสอบ

วิดีโอ 


ตอนที่ 1


ตอนที่ 2

***ขออนุญาตเจ้าของวิดีโอด้วยนะคะ***
*** เครดิส clickforclever***

- แนวข้อสอบ http://www.vcharkarn.com/exam/set/791


แหล่งอ้างอิง
- หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เคมี เล่ม ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
- เอกสารประกอบการเรียนอะตอมและตารางธาตุ จัดทำโดย อาจารย์เกตุกัญญา สายสาหร่าย